ตะกวด(แลน)
สัตวเลื้อนคลาน
Clouded Monitor(Bengal Monitor)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Varanus bengalensis
ลักษณะทั่วไป พื้นตัวเป็นสีเทาเหลืองหรือน้ำตาลเทา เกล็ดเป็นสีเหลืองหรือเป็นจุด ๆ เมื่อมองผ่าน ๆ จึงดูตัวเป็นสีเหลือง
ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งอินเดียและพม่า ตะกวดกินไก่ นก ปลา กบ เขียด หนู กินได้ทั้งของสดและของเน่า
พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ไม่ดุเท่าเหี้ย ชอบอาศัยอยู่ตามต้นไม้ แต่ว่ายน้ำและดำน้ำไม่เก่งเท่าเหี้ย ปกติชอบอยู่ใกล้น้ำเช่นเดียวกัน แต่บางทีอาจพบได้ตามป่าโปร่งและเนินเขาไกลจากลำน้ำ ตะกวดจะโตเต็มที่เมื่อมีอายุ 3 ปี วางไข่ครั้งละ 20 ฟองในฤดูฝน ฟักออกเป็นตัวง่าย ออกไข่ในหลุมดิน เช่นเดียวกับเหี้ย สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต
เหี้ย,เหี้ยลายดอก(ตัวเงิน ตัวทอง)
สัตวเลื้อนคลาน
Water Monitor
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Varanus salvator
ลักษณะทั่วไป ตัวสีดำ ลิ้นสีม่วงปลายแฉก มีลายดอกสีขาวหรือเหลืองเป็นแถวพาดขวางตัว หางเป็นปล้องสีดำสลับกับเหลืองอ่อน หนังหยาบเป็นเกล็ด ลำตัวมีขนาดใหญ่กว่าสัตว์อื่นในจำพวกเดียวกัน แต่เล็กกว่ามังกรโคโมโด
ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งอินเดียและศรีลังกา ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค เหี้ยไม่เลือกอาหาร กินทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ สัตว์ปีก เช่น ไก่ นก ปลา กบ เขียด หนู กินได้ทั้งของสดและของเน่า
พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ดุ ใช้หางเป็นอาวุธฟาดศัตรูแล้วใช้ปากกัด ชอบอยู่ใกล้น้ำว่ายน้ำ ดำน้ำเก่ง และขึ้นต้นไม้เก่งด้วย เหี้ยวางไข่ครั้งละ 15-30 ฟอง ขุดหลุมหรือทำโพรงเป็นที่วางไข่ ไม่ฟักไข่ คือพ่อแม่ไม่ต้องกกไข่ ลูกฟักตัวออกมาเองจากไข่โดยธรรมชาติ เมื่อลูกออกมาจากไข่แล้วก็หากินเอง เปลือกไข่นิ่มแต่เหนียว
สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์นครราชสีมา
เหี้ยดำ(มังกรดำ)
สัตวเลื้อนคลาน
Black Jungle Monitor
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Varanus salvator komaini
ลักษณะทั่วไป มีขนาดเล็กกว่าเหี้ยมาก เมื่อโตเต็มวัยจากปลายากถึงโคนหาง 50 เซนติเมตร หางยาว 60 เซนติเมตร มังกรดำ สีดำสนิทด้านทั้งตัว ไม่มีลายและจุดด่างเลย ท้องเทาเข้ม ลิ้นสีเทาม่วง มังกรดำเป็น Monitor ชนิดที่พบใหม่ มีรูปลักษณะคล้ายเหี้ย ลักษณะของเกล็ดผิดเพี้ยนกันเพียงเล็กน้อย
ถิ่นอาศัย, อาหาร มังกรดำพบได้เฉพาะบริเวณชายทะเลและเกาะเล็ก ๆ ทางฝั่งตะวันตกภาคใต้ของประเทศไทย พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ อุปนิสัยคล้ายตะกวดดำที่พบในปาปัวนิกินีมาก
สถานภาพปัจจุบัน สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์นครราชสีมา
http://www.zoothailand.org/animals/reptiles_th.asp?id=36 http://www.zoothailand.org/animals/reptiles_th.asp?id=35
http://www.zoothailand.org/animals/reptiles_th.asp?id=18
จากที่ได้ทราบจากบทความข้างต้นทำให้รู้ว่าเห้ยกับตะกวดต่างกันที่นิสัยและความสามารถต่างๆครับ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น